- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
แหล่งซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ทดลองต่างๆของ "เฮ็ดสิดี"
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
บทความนี้ จะทดลองใช้โซล่าร์เซลล์มาช่วยลดค่าไฟฟ้า สำหรับที่อยู่อาศัยขนาดเล็กครับ โดยยกตัวอย่างใช้งานจริงที่บ้านตัวเองเลยนะครับ
พร้อมทั้งจะทำ Smart Microgrid Inverter คือจะทำให้ระบบที่ทำนี้ สามารถ Monitor ค่าต่างๆได้ผ่านมือถือด้วยครับ (เนื่องจาก Inverter ที่นำมาใช้ เป็นขนาดเล็ก ไม่มีระบบ Monitor มาด้วย)
มาเริ่มกันเลยครับ
1.คำนวนหาขนาดติดตั้ง เพื่อหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับบ้านของเรามาใช้งาน
- ทำการตรวจสอบการใช้ไฟตอนกลางวัน ว่าบ้านเราใช้ไฟกี่หน่วย วิธีที่ผมใช้คือใช้ระบบ Home Energy Monitoring System ที่เคยทำคลิปไปเมื่อปีที่แล้ว มาทำการวัดการใช้ไฟตอนกลางวัน ซึ่งผมได้วัดเป็นเวลา 3 วัน ปรากฏว่าหน่วยที่ใช้ไป 1.8 - 1.9 หน่วย ผมเลยตีตัวเลขกลมๆ เป็น 2 หน่วยครับ
- สำหรับคนที่ไม่มีระบบ Home Energy Monitoring ก็สามารถใช้ PZEM-022 มาวัดแทนได้ครับ อย่าลืมรีเซ็ตหน่วย เพื่ออ่านค่าเฉพาะตอนกลางวันนะครับ
- หรือถ้าใครไม่มีเครื่องวัดจริงๆ ก็ให้ดูเลขมิเตอร์ตอนเช้า และตอนเย็น แล้วเอาเลขตอนเย็น ลบด้วยเลขตอนเช้า ก็จะได้หน่วยที่ใช้ในตอนกลางวันแล้วครับ
**หน่วยที่พูดถึง ผมเริ่มนับตั้งแต่ 08.00 - 17.00 น. นะครับ เพราะจะนับตั้งแต่เวลาระบบมีแสงเริ่มทำงานจนถึงหมดแสงหยุดทำงาน คร่าวๆ ประมาณนี้ครับ
สรุปแล้วตัวเลขที่จะนำมาใช้คือ 2 หน่วย ครับ
2.นำหน่วยที่ได้มาคำนวนหาขนาดติดตั้ง
สูตรที่ใช้
ขนาดติดตั้ง(kW) = หน่วย/peak sun hours
Peak sun hours คือจำนวนชั่วโมงที่แผงได้รับแสงเต็มที่ใน 1 วัน ตัวเลขที่ใช้สำหรับประเทศไทยคือ 4.7-5.5 ชั่วโมงครับ แต่ตัวเลขที่ผมจะใช้คือ 4 ครับ เหตุผลคือ ผมเผื่อค่า loss ต่างๆในระบบ เช่น เวลาที่แดดร่ม, จุดต่อต่างๆ, ฝุ่นเกาะแผง ฯลฯ
และสมมุติว่าเราใช้แผงขนาด 340 วัตต์ ก็ไม่ใช่ว่าแผงนั้นจะผลิตไฟให้เราเต็มๆตามขนาดนะครับ จำนวนวัตต์ของแผงนั้นได้มาจากห้องทดลองที่อุณภูมิ และความเข้มแสงที่ทางผู้ผลิตแจ้งไว้ใน name plate ครับ (ส่วนมากจะใช้อุณหภูมิ 25 องศา และความเข้มแสงที่ 1000 วัตต์/ตารางเมตร ซึ่งแน่นอนว่าจุดที่เราติดตั้งจริงไม่ใช่อุณหภูมิ และความเข้มแสงแบบในห้องทดลองแน่นอนครับ)
นำตัวเลขมาใส่สูตร จะได้
ขนาดติดตั้ง = 2/4 = 0.5 kW
ดังนั้น ขนาดติดตั้งที่พอดีกับบ้านผมก็คือ 0.5 kW ครับ
ถามว่าติดมากกว่านี้ได้มั้ย ตอบว่าได้ครับ
ถ้าเราผลิตไฟมากเกินความจำเป็น ทำให้มิเตอร์หมุนถอยหลัง ได้หน่วยคืนมาก็จริง แต่ในอนาคต หากการไฟฟ้าฯ ตรวจพบ (ในกรณีที่เราไม่แจ้งการไฟฟ้าฯ ก่อน ก็อาจเจอเฉลี่ยหน่วยย้อนหลังด้วย) เขาก็อาจจะเปลี่ยนมิเตอร์ให้เป็นแบบกันหมุนถอยหลัง หรืออาจจะเปลี่ยนเป็นมิเตอร์แบบดิจิตอล ทำให้เราผลิตไฟเกินจากที่ใช้งานจริง ก็จะเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าน่ะครับ
3.หาอุปกรณ์ และออกแบบ-ติดตั้ง
ตามขนาดติดตั้งที่ผมได้มา 0.5 kW จึงต้องหา inverter ขนาด 0.5 kW มาใช้ ซึ่งผมเลือกใช้ตัวนี้ครับ
OMNIK SMP600 ตามภาพครับ
การต่อใช้งานของตัวนี้ก็ต่อง่ายๆ โดยต่อแผงเข้าตรงหัว MC4 ซ้ายหรือขวา (ในกรณีมี 2 แผง ก็ต่อซ้าย 1 แผง ขวา 1 แผง) และ AC ก็ต่อออกจาก Connector ด้านบน ตัวใดตัวหนึ่ง ไปเข้ากับไฟบ้านเราได้เลยครับ อย่าลืมเบรคเกอร์ อุปกรณ์ป้องกันฯ ต้องให้ขนาดพอดีกับกระแสด้วยนะครับ
Spec ด้านหลังก็ประมาณนี้ครับ
กำลังวัตต์ที่ผลิตตามเนมเพลทคือ 550 วัตต์
อย่างที่บอกในข้อ 2 ว่าปัจจัยที่ทำให้ loss ในระบบมีเยอะ ก็เลยเผื่อๆ จาก 500 วัตต์ เป็น 550 วัตต์ ครับ เกินนิดหน่อยกำลังพอดีครับ
ส่วนแผงที่ใช้ ผมเลือก 340 วัตต์ ยี่ห้อ Sunfree ครับ เนื่องจากเหตุผลทางด้านงบประมาณ และแผงยี่ห้อนี้ผมก็ติดตั้งให้ลูกค้าไปเยอะอยู่เหมือนกันครับ
ซึ่งระยะแรกผมจะติดตั้ง 1 แผงก่อนนะครับ
เนื่องจากผมต้องการจะทำให้ระบบสามารถดูผ่านมือถือได้ด้วยอย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้น จึงมีอุปกรณ์อื่นๆมาต่อเสริมด้วยครับ
ไดอะแกรมการต่อของผมก็ประมาณนี้ครับ
....
เมื่อต่ออุปกรณ์อื่นๆใส่เพิ่มตามต้องการ ก็จะได้ประมาณนี้ครับ
.....
4.เริ่มใช้งาน+บันทึกผล
- การทำงานของระบบฯ
ความคิดเห็น