- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
แหล่งซื้ออุปกรณ์ที่ใช้ทดลองต่างๆของ "เฮ็ดสิดี"
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
หลังจากได้บอร์ดมาแล้ว จะมาลองใช้งานกับเซ็นเซอร์ชนิดต่างๆกันครับ
โดยวันนี้จะทดสอบกับ DS1820 เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิในตำนาน คนที่อยู่วงการนี้จะรู้จักดีครับ
**รีเลย์ก็เหมือนสวิตช์ อยากตัดต่ออะไร ก็ต่อเข้าได้เลยครับ ข้อควรระวังคืออย่าตัดต่ออุปกรณ์ที่กระแสเกินพิกัดของรีเลย์ และถ้าใช้ไฟ AC ต้องใช้ความระมัดระวังด้วยนะครับ **ถ้าลูกหลานเล่น ควรมีผู้ปกครองดูแลแนะนำครับ
เมื่อต่อวงจรแล้ว หน้าตาก็ประมาณนี้ครับ
จากนั้นเสียบ USB To TTL เข้ากับคอมฯ แล้วเปิดโปรแกรม Arduino ครับ
ทำการลงไลบรารี่ onewire กับ Dallas temperature เข้าไปที่ Sketch > Library > Manage Libraries...
......................................................................
โดยปกติแล้ว Library ต่างๆ จะมีตัวอย่างให้ลองใช้งานเสมอนะครับ อันนี้ผมจะลอง Simple ครับ เข้าไปที่ File>example>Dallastemperature>Simple
ตัวโปรแกรม ไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลยนะครับ โชคดีมากที่ตัวอย่างขาที่ใช้งานเซ็นเซอร์ ตรงกับขาที่เราใช้อยู่พอดีครับ (ขา 2)
ถึงอย่างไรก็ตาม ผมก็ยังอยากให้เพื่อนๆได้ลองศึกษาโครงสร้างของโปรแกรมนะครับ ค่อยๆไล่ดู ค่อยๆศึกษา แล้วจะเข้าใจภาษา C สำหรับ Arduino มากขึ้นครับ
เลือกบอร์ด เลือกพอร์ตให้ถูกต้อง แล้วทำการ Upload โปรแกรมลงบอร์ดเลยครับ
เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ถอด Jumper ออก แล้วกด Reset ครั้งนึง แล้วดูการทำงานของโปรแกรมทาง Serial monitor ครับ จะได้ประมาณนี้
ทีนี้เราจะลองปรับแต่งโปรแกรมให้สั่งงานรีเลย์เมื่ออุณหภูมิถึงค่าที่กำหนด โดยผมจะกำหนดให้ ถ้าถึง 35 องศา รีเลย์ทำงาน หลอดไฟก็จะติดนั่นเองครับ
เพิ่ม Code เข้าไปตามภาพด้านล่างครับ แนะนำให้พิมพ์เองนะครับ เพิ่มทักษะครับ
ฟังก์ชั่น Setup
ฟังก์ชั่น loop
เสร็จแล้วทำการเสียบ Jumper เข้าไป แล้วกด Upload ครับ
ตอนอัพโหลดครั้งนี้ จะต่างจากอัพโหลดครั้งแรกที่เสียบ USB เข้าไปนะครับ สังเกตด้านล่าง จะขึ้น Connecting...._... แบบนี้เรื่อยๆ ให้ทำการกด Reset 1 ครั้ง ก็จะสามารถ Upload ได้ครับ (ถ้า Upload ได้ปกติจะขึ้นเป็น % นะครับ)
เมื่อ Done Uploading แล้วก็ถอด Jumper ออก แล้วกด Reset เหมือนเดิมนะครับ
(ดูที่หน้าจอ Serial monitor ควบคู่ไปด้วยครับ)
ลองหาไฟแช็คมาเผาเซ็นเซอร์ DS1820 ให้อุณหภูมิสูงเกินที่กำหนดในโปรแกรม สังเกตว่าอุปกรณ์ทำงานตามที่เราโปรแกรมไว้หรือเปล่า
อุณหภูมิเกิน 35 องศาเซลเซียส
รีเลย์ทำงาน หลอดไฟติด
โปรแกรมทำงานได้ตามเงื่อนไขครับ
เมื่ออุณภูมิลดต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส
รีเลย์ก็ตัดไฟ
.................................................................................................................................................................
เพื่อนๆสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้อย่างอื่นก็ได้นะครับ เช่น สั่งงานรีเลย์ด้วย ส่งไลน์มาแจ้งเตือนด้วย ซึ่งผมคิดว่าเพื่อนๆทำได้แน่นอนครับ
เทคนิคเล็กๆคือ ลงไลบรารี่ แล้วดูโค้ดตัวอย่าง นำโปรแกรมมารวมกันครับ
ลองดูนะครับ ^^
........................................................................................................
จะเห็นได้ว่าสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราสามารถนำโปรแกรมไปประยุกต์ใช้อย่างอื่นได้ ก็คือความเข้าใจในโครงสร้าง และคำสั่งต่างๆของภาษา C นั่นเองครับ หากเราทำความเข้าใจบ่อยๆ กับโค้ดตัวอย่างต่างๆ ให้เวลาสักวันละชั่วโมง เราก็จะเก่งขึ้นกว่าเดิมแล้วครับ
หากมีข้อผิดพลาดประการใดในบทความนี้ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ เพื่อนๆสามารถทักท้วงมาได้ตลอดนะครับ ไม่ว่ากันครับ ^^
ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ
#เฮ็ดสิดี
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น